การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศ
โดยการใช้กฎหมาย
สาระสำคัญ
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งหมายในส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมครอบคลุมทุกด้านจากปัญหาความซ้ำซ้อนและการกระจายของกฎหมาย
รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายไม่เต็มรูปแบบจึงควรแก้ไขเพื่อให้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ
รัฐธรรมนูญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างเช่น
มาตรา 43บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขัน
โดยเสรีอย่างเป็นธรรม
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น
และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน
ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ
มาตรา 85 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้
(1)
กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
โดยให้คำนึงถึงความ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนน้ำ
วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
และกำหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน
โดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์ การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย
(2)
กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์หรือ
สิทธิในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น
รวมทั้งจัดหาแหล่งน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสมแก่การเกษตร
(3)
จัดให้มีการวางผังเมือง พัฒนา
และดำเนินการตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล
เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
(4)
จัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบ
และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษา
และใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล
(5)
ส่งเสริม บำรุงรักษา
และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ
และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ต้องมีส่วนร่วมในการ กำหนดแนวทางการดำเนินงาน
กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลบังคับทางกฎหมาย
1.ผลบังคับทางอาญา มีการระบุความผิดและโทษ
เช่น จำคุก ปรับ
ตัวอย่าง พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
พ.ศ. 2535
มาตรา 29ห้ามมิให้ผู้ใดถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในที่สาธารณะ
หรือสถานสาธารณะซึ่งมิใช่สถานที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้จัดไว้เพื่อการนั้น
มาตรา 54 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
มาตรา 8 วรรคหนึ่ง มาตรา 15 มาตรา 20
มาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา
27 มาตรา 29 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 39
มาตรา 40 หรือ มาตรา 41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
2.ผลบังคับทางแพ่ง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน
มีวัตถุประสงค์ให้ศาลสั่งห้ามจำเลยมิให้กระทำการใดๆ เช่น ระงับการก่อสร้างในเวลากลางคืน
รวมทั้งการเรียกค่าสินไหมทดแทน
ตัวอย่าง พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. 2535
มาตรา 96 แหล่งกำเนิดมลพิษใดก่อให้เกิดหรือเป็นแหล่งกำเนิด
ของการรั่วไหลหรือแพร่กระจายของมลพิษอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย แก่ชีวิต
ร่างกายหรือสุขภาพอนามัย หรือเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นหรือของ
รัฐเสียหายด้วยประการใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น
มีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายเพื่อการนั้น ไม่ว่าการ
รั่วไหลหรือแพร่กระจายของมลพิษนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือ
ประมาทเลินเล่อของเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษหรือไม่ก็ตาม
เว้นแต่ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่ามลพิษเช่นว่านั้นเกิดจาก
(1)
เหตุสุดวิสัยหรือการสงคราม
(2)
การกระทำตามคำสั่งของรัฐบาลหรือเจ้าพนักงานของรัฐ
(3)
การกระทำหรือละเว้นการกระทำของผู้ที่ได้รับอันตรายหรือ
ความเสียหายเองหรือของบุคคลอื่น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงหรือโดยอ้อม
ในการรั่วไหลหรือการแพร่กระจายของมลพิษนั้น
ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหาย ซึ่งเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่ง
กำเนิดมลพิษมีหน้าที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ที่ทางราชการต้องรับภาระจ่ายจริงในการขจัดมลพิษที่เกิดขึ้นนั้นด้วย
3.ผลบังคับทางปกครอง หมายถึง
การที่รัฐเข้าไปดำเนินการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้กับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่ต้องดำเนินการทางกระบวนการยุติธรรมเสียก่อน
เช่น การที่เจ้าพนักงานมีคำสั่งพักการใช้ใบอนุญาต
หรือสั่งปิดโรงงานที่ปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย
ตัวอย่าง พรบ.โรงงาน
พ.ศ.2535
มาตรา 37 ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ประกอบกิจการโรงงาน
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือการประกอบกิจการโรงงานมี
สภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหายหรือความเดือดร้อนแก่บุคคลหรือ
ทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี
อำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือแก้ไขหรือปรับปรุง หรือปฏิบัติให้
ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนดได้
ในกรณีที่เห็นสมควร
เมื่อได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงหรือผู้ซึ่งปลัด
กระทรวงมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจผูกมัดประทับตราเครื่องจักร
เพื่อมิให้เครื่องจักรทำงานได้ ในระหว่างการปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงาน
เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- มีกฎหมายและหน่วยงานซึ่งใช้บังคับกฎหมายซ้ำซ้อนและกระจัดกระจาย
- อัตราโทษที่กฎหมายกำหนดโทษไว้เบาเกินไป
- ขาดการกระจายอำนาจในการใช้บังคับกฎหมาย
- เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องยังขาดความตื่นตัวในการปฏิบัติหน้าที่
- ยังมีการใช้บังคับกฎหมายไม่เต็มรูปแบบ
ที่มา: http://wiki.stjohn.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น