สาระสำคัญ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันซึ่งมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคตนั้น
มีสาเหตุมาจากการใช้ทรัพยากรโดยทรัพยากรโดยขาดการอนุรักษ์และการใช้เทคโนโยลีที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เหมาะสมต่อทรัพยากร
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการใช้ทรัพยากร
สภาวะวิกฤตของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต
เป็นผลมาจากการใช้ทรัพยากรมากเกินกำลังผลิต
และการฟื้นคืนสภาพของระบบสิ่งแวดล้อมลดน้อยลง
การใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสมต่อทรัพยากรและไม่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงมากขึ้น เกิดความไม่มั่นคงในการดำรงชีวิต
ข้อจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ
ในปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติของประเทศจึงอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม
สร้างข้อจำกัดของการพัฒนาในระยะต่อไป ในขณะนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่าย
ทั้งส่วนราชการและเอกชนจะต้องหันมาสนใจ และร่วมมือกันเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง
ให้สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชน
ทั้งในเมืองและในชนบท และการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตลอดไปตามหลักวิชาการ
จัดประเภททรัพยากรธรรมชาติ ออกเป็น 3ประเภท ที่สำคัญดังนี้
1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมด หรือสูญหายไป
เราสามารถใช้ทรัพยากรประเภทนี้ได้อย่างไม่จำกัด
เนื่องจากธรรมชาติสร้างให้มีใช้อยู่ตลอดเวลา ได้แก่ บรรยากาศน้ำที่อยู่ใน วัฎจักร ซึ่งเกิดจากการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของน้ำ กล่าวคือ
เมื่อน้ำตามที่ต่างๆ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์
ก็จะระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปบนบรรยากาศเมื่อกระทบกับความเย็นก็จะ
รวมตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเมฆ
เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบกับความเย็น
ก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ ลำธาร
และไหลออกสู่ทะเล เป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา
ทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอทรัพยากรประเภทนี้รวมทั้งแสงแดด ลม
และทัศนียภาพที่สวยงามตามธรรมชาติ อีกด้วย
2.ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดแต่สร้างทดแทนได้ ตัวอย่างเช่น ป่าไม้ ดิน
ที่ดิน แหล่งน้ำ ทุ่งหญ้า และสัตว์ป่า เป็นต้น
ทรัพยากรประเภทนี้เมื่อใช้แล้วจะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ
อย่างไรก็ดีการใช้ประโยชน์ก็ต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม
ไม่ควรใช้มากเกินต้องการและเกินกว่าที่ธรรมชาติ จะสร้างขึ้นมาทดแทนได้
มิฉะนั้นทรัพยากรชนิดนั้นก็จะร่อยหรอ เสื่อมโทรมลง และสูญสิ้นไป
การเสื่อมโทรมและสูญสิ้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรชนิดอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์
และอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
3.ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่มีการสร้างทดแทนได้ เช่น
แร่น้ำมัน ที่ดิน ในสภาพธรรมชาติ
แหล่งที่เหมาะสมสำหรับศึกษาธรรมชาติแหล่งธรรมชาติที่หาดูได้ยาก
แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งสภาพธรรมชาติใดๆ
ที่ถูกใช้ไปแล้วก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เหมือนเดิมอีก เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน
เมื่อนำมาใช้ประโยชน์ก็จะหมดสิ้นไป
โดยธรรมชาติไม่อาจจะสร้างขึ้นทดแทนได้ในชั่วอายุของคนรุ่นปัจจุบันทรัพยากรประเภทนี้ควรใช้โดยประหยัดที่สุด
คุ้มค่า และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ทรัพยากรประเภทที่ดินสวยงามในสภาพธรรมชาติ เช่น แพะเมืองผี ที่จังหวัดแพร่
เกิดจากการกัดกร่อนตามธรรมชาติ
ทำให้มีรูปร่างลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวผู้ไปเยี่ยมชมมากมาย
เราจึงควรช่วยกันดูแลรักษาไว้ ให้คงสภาพตามธรรมชาติให้นานที่สุด
หลักการและวิธีเลือกเทคโนโลยีในการใช้ทรัพยากร
เนื่องจากทรัพยากรมีข้อจำกัดในแต่ละประเภทจะทำให้เกิดของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นการเลือกใช้เทคโนโลยีจึงมีหลักการดังนี้
1.ต้องเข้าใจระบบทรัพยากร ระบบสิ่งแวดล้อมที่จะใช้
2.แผนการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในระบบ
3.กำหนดขั้นตอนการใช้ การผลิตให้ชัดเจน
4.เลือกและกำหนดเทคโนโลยีที่ต้องใช้ทรัพยากรทุกขั้นตอน
5.ต้องประเมินของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อมจากการนำเทคโนโยลีมาใช้กับทรัพยากรทุกขั้นตอน
6.ต้องมีการประเมินประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เทคโนโลยีที่เหมาะสม หมายถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของสังคมที่จะนำเทคโนโลยีนั้นไปใช้เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับใช้ในประเทศกำลังพัฒนาหรือชนบทที่ยังห่างไกลความเจริญในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งอาจไม่มีทุนทรัพย์หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพียงพอที่จะใช้และบำรุงรักษาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามากๆ
ในทางปฏิบัตินั้นเทคโนโลยีที่เหมาะสมมักหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้ระดับเทคโนโลยีที่เรียบง่ายและอ่อนโยน(ต่อสิ่งแวดล้อม)ที่สุดในการบรรลุจุดประสงค์ของชุมชนนั้นๆ
ในทางกลับกันเทคโนโลยีที่มีราคาแพงอาจเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดในชุมชนร่ำรวยที่สามารถซื้อและบำรุงรักษามันได้
ระบบสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันดังนี้
1.ระบบเทคโนโลยีการใช้โดยการสัมผัส คือการใช้ทีปราศจากรบกวนสิ่งแวดล้อม
โดยไม่นำออกและไม่นำเข้า
2.ระบบเทคโนโลยีการใช้พื้นที่โดยการนำโครงการพัฒนา
3.ระบบเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวทรัพยากรออกจากระบบ
เทคโนโลยีการบำบัด / กำจัดมลพิษ
เทคโนโลยีการบำบัด / กำจัดมลพิษ คือการนำเทคโนโลยีประเภทและลักษณะต่างๆมาใช้ร่วมกันในการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์
ของเสีย หมายถึง ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสาร
หรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ
รวมทั้งการตกตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว
หรือก๊าซ
มลพิษสิ่งแวดล้อม
มลพิษสิ่งแวดล้อม หมายถึง
สภาวะแวดล้อมที่มีมลสาร ที่เป็นพิษจนมีผลต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์ ของเสียและมลพิษ สามารถแบ่งได้ ดังนี้คือ
1. ของเสียและมลพิษที่เป็นของแข็ง เกิดจากเศษเหลือใช้
หรือกากของเสีย เช่น ขยะมูลฝอย กากสารพิษ
2. ของเสียและมลพิษที่เป็นของเหลว
เป็นสารพิษที่อยู่ในสถานะของเหลว เช่น น้ำมัน
จะเคลือบผิวน้ำทำให้พืชน้ำไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
3. ของเสียและมลพิษที่เป็นก๊าซ มีผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิต
เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ไอระเหย
4. ของเสียและมลพิษที่มีสมบัติทางฟิสิกส์
ส่วนใหญ่จะสัมผัสได้โดยตรง เช่น เสียง รบกวน
กัมมันตรังสี UV
5. มลพิษทางสังคม เป็นมลพิษที่ก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรง
โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ เช่น ปัญหาการเพิ่มประชากร ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด
ที่มา: http://wiki.stjohn.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น