การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศ



การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศ


สาระสำคัญ
            มนุษย์นำทรัพยากรมาคัดแปลงให้เกิดประโยชน์ แต่ทรัพยากรธรรมชาติก็มีข้อจำกัดในด้านการเพิ่มจำนวนให้ทันต่อความต้องการของมนุษย์ที่นับวันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์
   


ความหมายของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Conservation) หมายถึงการใช้สิ่งแวดล้อม อย่างมีเหตุผล เพื่ออำนวยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไปแก่มนุษย์
โดยมีแนวความคิดที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดผลอยู่ 6 ประการคือ

1) ต้องมีความรู้ในการที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จะให้ผลแก่มนุษย์ทั้งที่ เป็นประโยชน์และโทษ และคำนึงถึงเรื่องความสูญเปล่าในการจะนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้
2) รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและหายากด้วยความระมัดระวัง ตระหนักเสมอ ว่าการใช้ทรัพยากรมากเกินไปจะเป็นการไม่ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม
ฉะนั้นต้องทำให้อยู่ในสภาพเพิ่มพูนทั้งด้านกายภาพและเศรษฐกิจ

3) รักษาทรัพยากรที่ทดแทนได้ให้มีสภาพเพิ่มพูนเท่ากับอัตราที่ต้องการใช้เป็น อย่าง น้อย

4) ประมาณอัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากรได้ พิจารณาความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสำคัญ

5) ปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ ในการผลิตและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและพยายามค้นคว้าสิ่งใหม่ ๆ ทดแทนการใช้ทรัพยากรจากแหล่งธรรมชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชากร

6) ให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อเข้าใจถึงความสำคัญในการรักษาสมดุลธรรมชาติ ซึ่งมีผลต่อการทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพที่ดี โดยปรับความรู้ที่จะเผยแพร่ให้เหมาะแก่วัย คุณวุฒิ บุคคล
สถานที่หรือท้องถิ่น ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจในหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันจะเป็นหนทางนำไปสู่อนาคตที่คาดหวังว่ามนุษย์จะได้อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดีได้

หลักการและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
               การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ คือ การใช้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดและใช้ให้เกิดประโยชน์ หลักการและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีดังนี้
1. การถนอมรักษา คือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้คงสภาพทั้งปริมาณและคุณภาพเอาไว้ โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กรณีแร่เหล็กแทนที่จะนำมาใช้โดยตรงก็นำไปผสมกับแร่ธาตุอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นเหล็กกล้า ซึ่งนอกจากจะลด ปริมาณการใช้เนื้อเหล็กให้น้อยลงแล้วยังช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานออกไปอีกด้วย เป็นต้น
2. การบูรณะฟื้นฟู คือ การทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับคืนมาใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม เช่น ดินที่นำมาใช้เพื่อการเพราะปลูกพืชชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้คุณภาพของดินเสื่อมลง การบูรณะฟื้นฟูจะทำได้โดยการใส่ปุ๋ยปลูกพืชคลุมดิน หรือพักหน้าดินไว้สักช่วงระยะหนึ่ง เป็นต้น

3. การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่า รีไซเคิล นอกจากการถนอมรักษาและการบูรณะฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติแล้ว การนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ใช้ไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ถือเป็นการอนุรักษ์อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งการอนุรักษ์ชนิดนี้จะทำได้ดีกับทรัพยากรน้ำและแร่ธาตุบางชนิด เช่น การนำเศษกระดาษ พลาสติก อลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว ทองแดง และเหล็กที่ทิ้งแล้วกลับมาหลอมหรือเปลี่ยนสภาพ ให้นำกลับมาใช้ได้อีก เป็นต้น
4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดจะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น น้ำที่ไหลลงมาตามลำน้ำ ถ้าหากสร้างเขื่อนขวางกั้นลำน้ำเพื่อยกระดับของน้ำให้เขื่อนสูงขึ้น แล้วนำพลังงานน้ำนั้นมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอีกวิธีหนึ่ง
5. การนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทนการนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางชนิดอาจทำได้ เช่น การนำก๊าซธรรมชาติ มาใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งทำให้ประหยัดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

6. การสำรวจแหล่งทรัพยากรเพิ่มเติม เป็นการค้นหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การใช้เครื่องตรวจสอบรังสีในการสำรวจแร่ยูเรเนียม การใช้ระบบคลื่นแผ่นดินไหวเทียมเพื่อสำรวจหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
7. การประดิษฐ์ของเทียมขึ้นใช้ ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์สามารถผลิตของเทียมขึ้นใช้แทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ยางเทียม ไหมเทียม เป็นต้น ความสามารถดังกล่าวจึงช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดให้น้อย

แนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
             การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะได้ผลยั่งยืนข้อมูลนั้น ตลอดจนต้องใช้มาตรการทางกฎหมายควบคุมแนวทางในการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนมี 3 แนวทางดังนี้
1.การให้การศึกษาคือการสอนให้เข้าใจถึงหลักการ วิธีการอนุรักษ์ มีจริยธรรมเกิดสำนักและร่วมในการอนุรักษ์
2.การใช้เทคโนโลยีในการนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์
3.การใช้กฎหมายควบคุมเป็นวิธีการสุดท้ายในการดำเนินการ

การอนุรักษ์บรรยากาศ มหาสมุทรและระบบนิเวศบก

             การใช้ทรัพยากรเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้ การเกษตร การประมง แร่ธาตุ หิน ฯลฯ จะมีของเสียเกิดขึ้น ของเสียอาจจะอยู่ในรูปของของแข็ง (ขยะมูลฝอย กากสารพิษอันตราย) ของเหลว (น้ำเสีย น้ำมันและไขมัน) ก๊าซ (ฝุ่นละออง ก๊าซพิษ หมอกควัน ละอองสารพิษ) มลพิษทางฟิสิกส์ (เสียง แสง ความร้อน ความสั่นสะเทือน) ของเสียและมลพิษเหล่านี้ย่อมหมุนเวียนอยู่ทั้งบนบก มหาสมุทร และบรรยากาศ เฉกเช่นเดียวกับ วัฏจักรของน้ำ
ของเสียและมลพิษ สิ่งแวดล้อมที่เป็นฝุ่นละออง แก๊สพิษ หมอกควัน ละอองสารพิษ และ CFCs จะลอยปนเปื้อนในบรรยากาศ ส่วนมากแล้วจะเป็นก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases)
ของเสียที่เป็นขยะมูลฝอย กากสารพิษ และน้ำเสีย จะไหลลงสู่ลำน้ำ สุดท้ายลงสู่ทะเลและมหาสมุทร อาจจะทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำบางชนิดสูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำได้
การอนุรักษ์ระบบนิเวศบก ที่เป็นแหล่งปัญหามีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายที่สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ การจัดการควบคุมการอนุรักษ์หรือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ของระบบบนบกจึงควรต้องประยุกต์วิธีการอนุรักษ์เข้ามาช่วยจัดการ โดยเฉพาะการแบ่งเขตพื้นที่ผิวโลก เพื่อที่จะได้ทราบว่าพื้นที่ผิวโลกส่วนใดที่ควรสงวนเก็บกักเอาไว้ พื้นที่ส่วนใดที่มีศักยภาพในการฟื้นฟู พื้นที่ส่วนใดที่เห็นควรจะต้องมีการฟื้นฟู รักษา/ซ่อมแซมให้มีศักยภาพดีขึ้น



ที่มา: http://wiki.stjohn.ac.th


                                               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น